น้ำตาลตัวร้าย ใครอยากสูง ระวัง!

วันนี้ปลูกลูกรักมาเล่าเรื่องความหวาน น้ำตาล กับผลร้ายต่อความสูงที่พ่อแม่และลูกๆต้องระวังกันค่ะ

ความสูงของเด็กสามารถเพิ่มขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิเช่น พันธุกรรม อาหาร การออกกำลังกายและการพักผ่อน แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าหากเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตได้รับความหวานมากเกินไปก็จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กสูงช้าได้

เด็กสูงขึ้นได้อย่างไร?

เนื่องจากในเด็กจะมี โกรทฮอร์โมน ( Growth Hormone ; GH ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ช่วยในการเพิ่มความสูง โกรทฮอร์โมนผลิตจากต่อมใต้สมอง ( Pituitary Gland ) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย 

ความหวานกับความสูง

ตลอดวันโกรทฮอร์โมนจะถูกผลิตและถูกสะสม โดยต่อม pituitary gland ในภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ระดับโกรทฮอร์โมนจะผลิตได้ปกติเช่นกัน ในทางตรงข้าม ถ้าร่างกายของเรามีน้ำตาลในเลือดสูง จะเกิดการหลั่งอินซูลินมาก ซึ่งจะไปยับยั้งทำให้ระดับโกรทฮอร์โมนลดลง 

ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ⇒ โกรทฮอร์โมนหลั่งน้อยลง ⇒ กระทบการเจริญเติบโต ⇒ ไม่สูง

ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ⇒ โกรทฮอร์โมนหลั่งมาก ⇒ สูง

” น้ำตาล คือตัวขัดขวางโกรทฮอร์โมน “

เวลางดของหวาน เพื่อความสูง

1. ก่อนออกกำลังกาย

นอกจากเวลานอนหลับแล้ว โกรทฮอร์โมนจะหลั่งระหว่างวัน โดยเฉพาะในช่วงที่เราออกกำลังกาย ดังนั้นหากเราทานของหวานเยอะก่อนออกกำลัง ก็จะทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งน้อย 

เพราะหัวใจของการเพิ่มความสูง อยู่ที่การเพิ่มระดับการหลั่งโกรทฮอร์โมนตลอดทั้งวันให้สูงสุด ทั้งตอนนอนและตอนกลางวัน เราจึงควรใส่ใจการกินในระหว่างวันค่ะ ไม่อย่างนั้นออกกำลังมากเท่าไร อาจพบว่าทำไมลูกไม่สูงเลย

เหมือนอย่างที่คนชอบบอกกันว่า หลังกินข้าว อย่าออกกำลัง เพราะนอกจากที่จะทำให้อาหารย่อยไม่ดีแล้ว ปัญหาเรื่องโกรทฮอร์โมนก็เป็นเหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่เราไม่ควรทานอาหารหรือของหวานใกล้เวลาออกกำลังค่ะ

2. ก่อนนอน

ทำไมไม่ควรให้ลูกทานมื้อดึก?

เด็กบางคนติดกินก่อนนอน ต้องทานอาหาร ขนม หรือของหวานก่อนนอน แม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกง่วงหลับง่ายขึ้นได้ แต่จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และน้ำตาลนี้จะขัดขวางการหลั่งโกรทฮอร์โมนในระหว่างนอนหลับ ทำให้เด็กสูงช้า และตื่นมายังรู้สึกไม่สดชื่น ซึมเซาง่ายอีกด้วย

เพราะว่าเมื่อเราทานอาหารเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูงๆ ตับอ่อนก็จะหลั่ง ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอินซูลินจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมนระหว่างที่เรานอนหลับได้

นักวิจัยพบว่า ระดับอินซูลินจะมีระดับลดลง 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่เรากินอาหารเข้าไป ดังนั้นถ้าอยากให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนมากขึ้นระหว่างนอนหลับ ควรบริหารเวลาทานอาหารให้ดีค่ะ และแนะนำงดอาหารอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอนค่ะ

” ระวัง! ทานอาหารน้ำตาลสูงก่อนนอน ตัวจะไม่สูง “

Tips

แต่ถ้าคืนไหนหิวไม่ไหวจริงๆ แนะนำหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทก่อนนอน หรือแนะนำดื่มนมจืดหรือเครื่องดื่มชงอุ่นๆที่ไม่หวานมากแทนค่ะ 

Blog

มารู้จักกับโคลอสตรุ้มกันเถอะ

มารู้จักกับโคลอสตรุ้มกันเถอะ

โคลอสตรุ้ม (Colostrum) คืออะไร มารู้จักกันเถอะโคลอสตรุ้ม (Colostrum) คืออะไร ?โคลอสตรุ้ม (Colostrum) น้ำนมเหลือง หรือหัวน้ำนมนั้นเป็นอาหารที่มีความโดดเด่น...

“Pull up” ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูง

“Pull up” ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูง

“Pull up” ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูงในกีฬาที่ช่วยเพิ่มส่วนสูงทั้งหมด “Pull up” เป็นท่าออกกำลังกายที่ให้ผลดีมากอันหนึ่ง  Pull up คือท่าโหนบาร์แล้วยกตัวขึ้น เป็นท่าที่นิยมกันในกลุ่มผู้ชายนักออกกำลังกายในสมัยนี้ ทำไมจึงดีกับการเพิ่มส่วนสูง? ในท่าการโหนบาร์นี้...

4 ผลไม้แคลเซียมสูง สำหรับคนอยากสูง

4 ผลไม้แคลเซียมสูง สำหรับคนอยากสูง

4 ผลไม้แคลเซียมสูง สำหรับคนอยากสูงแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก มีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างกระดูก สำหรับคนที่อยากสูงแล้วแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว  โดยทั่วไปอาหารที่เราทานไปในแต่ละวัน ก็มีแคลเซียมประกอบอยู่...

Facebook Comments
ส่งต่อบทความดี ๆ