เด็กอ้วนแล้วไม่สูง จริงหรือไม่!
ปัญหาเด็กอ้วนเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ทุกวันนี้มีงานวิจัยหลายงานที่พูดถึงผลกระทบกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยงานวิจัยที่น่าเชื่อถือได้ทำการศึกษาและพบว่า ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าเกณฑ์ จะมีระดับโกรทฮอร์โมนน้อยกว่าคนปกติมากถึง 3-4 เท่า ทำให้เด็กที่มีภาวะอ้วนเหล่านี้มีความสูงที่ช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป
ทำไมเด็กอ้วนมักไม่สูง?
เด็กสมัยนี้มักรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เมื่อร่างกายของเด็กได้รับพลังงานแคลอรี่จากอาหารเยอะเกินไป ร่างกายจะนำพลังงานเหล่านี้ไปเก็บไว้เป็นพลังงานสำรองในรูปแบบของไขมัน หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
โดยในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินจะเน้นทานอาหารที่มีความสะดวกสบาย ทานอาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ด และของทานเล่นที่มีแคลอรีสูง ( อาหารประเภทขนมหวาน พิซซ่า ไก่นักเก็ต น้ำอัดลม ชีสพัฟ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ช็อกโกแลต ) ทำให้ในร่างกายของเด็กเหล่านี้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
เมื่อร่างกายของเด็กมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแล้ว จะส่งผลทำให้ระดับโกรทฮอร์โมนจะต่ำลง
จึงส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทำให้เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินสูงช้ากว่าเด็กที่มีภาวะน้ำหนักปกติ และยิ่งร่างกายของเด็กมีโกรทฮอร์โมนน้อยเท่าไหร่ ร่างกายก็จะเผาผลาญช้าลงและสะสมไขมันส่วนเกินมากขึ้นอีกด้วย
อ่านต่อเรื่องน้ำตาลกับความสูงได้ที่บทความ : น้ำตาลตัวร้าย ตัวทำลายความสูง
การป้องกันภาวะเด็กอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก
- สนับสนุนให้เด็กรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและส่งเสริมการออกกำลังกาย
- ส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้เป็นอาหารว่างแทนขนมคบเคี้ยว
- ในเด็กที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคอ้วน หรือเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น น้ำหนักแรกคลอดน้อย มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลเรื่องการทานอาหารเป็นพิเศษ
- ผู้ปกครอง ครอบครัว ครู ควรมีความรู้เรื่องโภชนาการในเด็กอย่างครบถ้วน
” ความอ้วนเป็นอีกปัจจัย ที่ทำให้เด็กสูงขึ้นไม่เต็มที่ “
แนวทางการดูแลและการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก
1. ควบคุมแบบแผนการรับประทานอาหาร เพื่อลดโคเลสเตอรอลโดยลดอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และนํ้าตาล รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารทอด หรืออาหารผัดที่ใช้นํ้ามัน แกงหรือขนม ซึ่งใส่กะทิเปลี่ยนมาใช้วิธีอบ ต้ม นึ่งย่าง เพื่อลดการใช้นํ้ามันปรุงอาหาร
2. เด็กๆควรรับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 3 มื้อ
3. ควบคุมอาหารว่างของเด็ก อาหารว่างของเด็กควรมีอาหารที่ไม่หวานและไม่มีไขมันมาก หากเป็นผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวาน เช่น มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่ เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยให้เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวกล้องขนมปังโฮลวีตจากข้าวสาลีหรือธัญพืชชนิดอื่น ที่ไม่ขัด สี ผัก ผลไม้
4. เน้นให้เด็กมีกิจกรรมทางกายอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ โดยจะทำให้ร่างกายของเด็กมีเนื้อเยื่ยกล้ามเนื้อและมีการใช้พลังงานพื้นฐานเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นในระยะยาว ตัวอย่างของกิจกรรมการออกกำลังกายเช่น การเดิน แอโรบิก ว่ายน้ำ เต้นรำ
5. ควรให้เด็กนอนพักผ่อน 8-11 ชั่วโมงต่อวัน เพราะจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่นอนน้อยกว่า 11 ชั่วโมงต่อวันมีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวจะมากขึ้น และเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้สูงกว่าเด็กที่นอนหลับ 11 ชั่วโมง เนื่องจากเด็กที่นอนน้อยจะมีสารเคมีเลปติน (Leptin) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่กระตุ้นให้หิวอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้การนอนน้อยยังกระตุ้นให้รู้สึกหิวอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้นด้วย
ให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
Blog
มารู้จักกับโคลอสตรุ้มกันเถอะ
โคลอสตรุ้ม (Colostrum) คืออะไร มารู้จักกันเถอะโคลอสตรุ้ม (Colostrum) คืออะไร ?โคลอสตรุ้ม (Colostrum) น้ำนมเหลือง หรือหัวน้ำนมนั้นเป็นอาหารที่มีความโดดเด่น...
“Pull up” ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูง
“Pull up” ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูงในกีฬาที่ช่วยเพิ่มส่วนสูงทั้งหมด “Pull up” เป็นท่าออกกำลังกายที่ให้ผลดีมากอันหนึ่ง Pull up คือท่าโหนบาร์แล้วยกตัวขึ้น เป็นท่าที่นิยมกันในกลุ่มผู้ชายนักออกกำลังกายในสมัยนี้ ทำไมจึงดีกับการเพิ่มส่วนสูง? ในท่าการโหนบาร์นี้...
4 ผลไม้แคลเซียมสูง สำหรับคนอยากสูง
4 ผลไม้แคลเซียมสูง สำหรับคนอยากสูงแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก มีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างกระดูก สำหรับคนที่อยากสูงแล้วแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว โดยทั่วไปอาหารที่เราทานไปในแต่ละวัน ก็มีแคลเซียมประกอบอยู่...